วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่1 ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา


ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากลและข้อปฏิบัติที่ยึดถือทางสายกลางตามหลักพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล
 พระพุทธศาสนามีหลักการและทฤษฎีที่เป็นสากล คือ หลักอริยสัจ 4 หมายถึง หลักความจริงอันประเสริฐของชีวิตมี 4 ประการคือ
 1. ทุกข์ (ความไม่สบายกายและใจ) สอนว่า    ชีวิต และโลก นี้มีปัญหาอะไรบ้าง 
 2. สมุทัย (สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์) สอนว่า  “ ปัญหาต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุ  มิได้เกิดขึ้นมาลอย ๆ 
 3. นิโรธ (วิธีการดับทุกข์) สอนว่า   มนุษย์มีศักยภาพในตัวเอง ที่จะสามารถแก้ปัญหาได้เอง 
 4. มรรค (แนวทางการปฏิบัติให้ถึงการดับทุกข์) สอนว่า การแก้ปัญหาต้องใช้ปัญญา (ความรู้และความเพียรพยายาม)อริยสัจ 4 เป็นหลักความจริงที่มีหลักการเป็นที่ยอมรับสอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นหลักสากลยอมรับทั่วไป อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่2 พุทธประวัติและชาดก


ชาติตระกูล  มีพระนามเดิมว่า “สิทธัตถะ” เป็นราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กับ”พระนางสิริมหามายา”  ประสูติ ที่สวนลุมพินีวัน ณ ใต้ต้นสาละ (ปัจจุบันคือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล) พราหมณ์ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ ถ้าดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่ โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันว่า จะได้ออกบวชและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
    หลังประสูติได้ 7 วัน พระมารดาสิ้นพระชนม์ จึงอยู่ในความดูแลของพระนางปชาบดีโคตมี ทรงเล่าเรียนจบระดับสูงของการศึกษาทางโลก คือ ศิลปศาสตร์ถึง 18 ศาสตร์ ในสำนักครูวิศวามิตร  พระบิดาไม่ประสงค์ให้เป็นศาสดา จึงพยายามให้พบแต่ความสุขทางโลก เช่น สร้างปราสาท 3 ฤดู และเมื่ออายุ 16 ปี ได้ให้อภิเษกกับนางพิมพาหรือยโสธรา เมื่อมีพระชนมายุ 29 ปี พระนางพิมพาก็ให้ประสูติ ราหุล (บ่วง)
การเสด็จออกบวช   เมื่อทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ หรือเทวทูต 4  จึงทรงคิดว่าชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น เกิดแนวคิดว่าธรรมดาในโลกนี้มีของคู่กันอยู่ เช่น มีร้อนก็ต้องมีเย็น  มีทุกข์คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ต้องมีที่สุดทุกข์ คือ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย เป็นหนทางหลุดพ้น จึงตัดสินพระทัยออกผนวช ในวันที่พระราหุลประสูติ  ทรงม้ากัณฐกะ มีนายฉันทะตามเสด็จ โดยมุ่งตรงไปที่แม่น้ำอโนมานที การออกบวชครั้งนี้เรียกว่า การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่)  หลังจากทรงผนวชแล้วได้ อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่3 วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี



วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ระเบียบพิธี พิธีเวียนเทียน การปฏิบัติตนในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นวันที่ชาวพุทธทั่วโลกยอมรับนับถือกันว่ามีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับพระรัตนตรัย และเหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ ในรอบหนึ่งปีกำหนดไว้ ๖ วัน คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา
๑.วันมาฆบูชา
มาฆบูชา เป็นชื่อของพิธีบูชา และการทำบุญในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะหรือเดือน ๓ ถ้าเป็นปีที่มีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน จะตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ โดยปกติวันมาฆบูชาจะอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์ เราเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า “วันพระธรรม” อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่4 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา


หลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนา
   1.ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ คือ องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ที่ประกอบด้วยรูปและนาม
        รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ 4 ได้แก่
    - ธาตุดิน(ส่วนของร่างกายที่เป็นของแข็ง เช่น เนื้อ กระดูก ผม)
    - ธาตุน้ำ (ส่วนที่เป็นของเหลวของร่างกาย) เช่น เลือด น้ำลาย น้ำเหลือง น้ำตา )
    - ธาตุลม (ส่วนที่เป็นลมของร่างกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก ลมในกระเพาะอาหาร)
    - ธาตุไฟ ( ส่วนที่เป็นอุณหภูมิของร่างกาย ได้แก่ ความร้อนในร่างกายมนุษย์)
     นาม คือ ส่วนที่มองไม่เห็นหรือจิตใจ ได้แก่
    - เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดจากประสาทสัมผัส เช่น สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอุเบกขาเวทนา ไม่ยินดียินร้าย
    - สัญญา คือ ความจำได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส เมื่อสัมผัสอีกครั้งก็สามารถบอกได้
    - สังขาร คือ สภาพที่ปรุงแต่งจิตใจให้คิดดี คิดชั่ว หรือเป็นกลาง สิ่งที่เข้ามาปรุงแต่งจิต ได้แก่ เจตนา ค่านิยม ความสนใจ ความโลภ และความหลง
    - วิญญาณ คือ ความรับรู้ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะ 6) อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่5 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต




ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันปิฎก
พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและ
พระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานบ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย 
พระธรรมเทศนาในพระสูตรมีเป็นจำนวนมาก หลายหมวด หลายประเภท

         ในพระสูตรนี้ มิใช่ว่าจะมีแต่พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าเท่านั้นยังมีธรรมภาษิตของเทวดาผู้มาเฝ้าและสนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้าก็มีมีธรรมภาษิตของพระอรหันตสาวกและของพระอรหันตสาวิการวมอยู่ด้วย ฉะนั้น พระสูตรจึงประกอบด้วยอรรถรสและธรรมรสหลากหลาย ซึ่งเป็นมรดกทางปัญญาตกทอดมาแต่บรรพบุรุษผู้ซึ่งได้ศึกษาค้นคว้าและยึดถือเป็นหลักปฎิบัติในการดำรงชีวิตย่อมก่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขแก่ตนและแก่สังคมอย่างแท้จริง อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่6 การบริหารจิตและเจริญปัญญา

  

การสวดมนต์แปลและ แผ่เมตตา
การไหว้พระสวดมนต์เป็นการแสดงความเคารพต่อพระรัตน ตรัยที่เราต้องปฏิบัติให้พร้อมทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อให้เป็นการเสริมสร้างสติปัญญา ผู้ที่ปฏิบัติเป็นประจำจะเกิดสติสัมปชัญญะ มีจิตเป็นสมาธิ ประณีตและมีคุณธรรม ทำให้ความเห็นถูกต้องตามหลักของพระพุทธศาสนา
          ในขณะที่สวดมนต์ถือเป็นการ บริหารจิตและเจริญปัญญาเบื้องต้น จะทำให้มีสติและสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่กับปัจจุบันเสมอ การไหว้พระสวดมนต์ โดยมากนิยมทำในตอนเช้าและก่อนนอน หรือทำก่อนที่เราจะฝึกสมาธิซึ่งจะช่วยให้ผู้ฝึกจิตสงบ มีสมาธิ และระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย
ประโยชน์ของการสวดมนต์แผ่เมตตา
1. เป็นสุขทั้งยามหลับยามตื่น
2. ขณะหลับอยู่ไม่ฝันร้าย
3. สีหน้าสดชื่นผ่องใส เป็นที่รักของผู้พบเห็น
4. จิตมั่นคง ใจเป็นสมาธิตั้งมั่นได้เร็ว
5.เทวดาย่อมรักษาคุ้มครอง อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่7 พุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่าง


เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ความจริงด้วยพระองค์เองแล้ว พระองค์ก็ทรงนำความจริงที่ตรัสรู้นั้นมาประกาศเปิดเผยแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า โดยมิได้เลือกชั้นวรรณะ สามารถทำให้คนทุกชนชั้นวรรณะไม่ว่าจะเป็นพราหมณ์ กษัตริย์ แพทย์ หรือศูทร สามารถรู้แจ้งเห็นจริงตามพระองค์ได้ ต่อมาบุคคลเหล่านี้ได้เป็นกำลังสำคัญในการประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนา จนพระพุทธศาสนาได้แผ่ขยายกว้างออกไปยังดินแดนต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้พระคุณความดีของพระพุทธเจ้าที่มีต่อชาวโลก หรือที่เรียกว่า พุทธคุณ ของเหล่าพุทธสาวกทั้งชายและหญิงจึงมีคุณค่าควรแก่การศึกษา และยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

2.2 พุทธคุณ 9
          พุทธคุณ คือ พระคุณความดีของพระพุทธเจ้าที่มีต่อชาวโลก พุทธคุณดังกล่าวนี้พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติไว้และพระสาวกก็ไม่ได้ตั้งขึ้น แต่เป็นกิตติศัพท์ที่ผู้นับถือพระพุทธศาสนาแล้วบ้างและผู้ที่ยังไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนาบ้าง ได้กล่าวขานเล่าลือกันไป อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่8 หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ


หน้าที่ชาวพุทธ
        พุทธศาสนิกชนยึดถือพระพุทธศาสนาเป็นสรณะในการดำรงชีวิต ในประเทศไทยประชาชนมากกว่าร้อยละ ๙๕นับถือพระพุทธศาสนาเป็นเวลากว่าพันปีแล้วที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาผสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย จนแยกกันไม่ออก ความเจริญหรือความเลื่อมของพระพุทธศาสนาย่อมมีผลกระทบต่อสังคมไทย พวกเราชาวพุทธจึงมีหน้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป หน้าที่สำคัญของชาวพุทธมีดังนี้

บทบาทของพระภิกษุในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา             พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่ศึกษาปฏิบัติธรรม เผยแผ่คำสอน สืบต่อพระพุทธศาสนา มีคุณธรรมและหลักความประพฤติที่ต้องปฏิบัติมากมาหน้าที่ของพระภิกษุที่สัมพันธ์กับคฤหัสถ์ ได้แก่ การให้ความอนุเคราะห์ชาวบ้าน ตามหลักปฏิบัติในฐานะที่พระภิกษุเป็นเสมือนทิศเบื้องบน
 อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่9 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา


ความหมายของศาสนา                                                                                                                  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้คำนิยามของคำว่า ศาสนา ไว้ว่า “ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ “ศาสนาจึงมีความหมายในลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้                                                                                                                                                                     1. ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Religion” คำในภษาละตินว่า “Religio” แปลว่า “สัมพันธ์” หรือ “ผูกพัน” ซึ่งหมายถึง “ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า” (Man and God) หรือ “ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้า” (Man and Gods) ด้วยการมอบศรัทธษบูชาพระเจ้าหรือเทพเจ้าผู้มีอำนาจเหนือตน และความเคารพยำเกรงศรัทธาดังกล่าวประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ ดังนี้ อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่10 ศาสนาสำคัญในประเทศไทย


ศาสนาสำคัญในประเทศไทย   แม้คนไทยส่วนใหญ่จะนับถือพระพุทธศาสนา  แต่ประเทศไทยเป็นดินแดนเสรี  ประชาชนได้รับสิทธิที่จะนับถือศาสนาใดๆ  ก็ได้ตราบเท่าที่ไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น
   อย่างไรก็ตาม  ความแตกต่างทางศาสนาไม่เคยก่อให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงในประเทศไทยศาสนิกชนไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด  ต่างก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสุขในประเทศไทย ทั้งนี้เพราะทุกศาสนาสอนให้คนละเว้นความชั่วประพฤติแต่ความดี ศาสนาจึงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจช่วยเหนี่ยวรั้งบุคคลมิให้ประพฤติไม่ดี
   สำหรับศาสนาสำคัญในประเทศไทยได้แก่  ศาสนาอิสลาม  ศาสนาคริสต์  ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  และศาสนาสิกข์  ในที่นี้จะยกตัวอย่างแค่า  ๒  ศาสนา คือ ศาสนาอิสลาม และ ศาสนาสิกข์
๑  ศาสนาอิสลาม
   ศาสนาอิสลาม  เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม  คือ  นับถือพระเป็นเจ้าองค์เดียว  ได้แก่  อัลลอฮ์  โดยมี  มุฮัมมัด  เป็นศาสดาและผู้ประกาศศาสนา  ศาสนาอิสลามไม่มีพระหรือนักบวชเพื่อทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมและเผยแผ่ศาสนา
อ่านเพิ่มเติม